กฏกติกากอล์ฟ - กอล์ฟทิฟ บท 6-10


กฏกติกากอล์ฟ - กอล์ฟทิฟ บท 6-10



กฎข้อบังคับในการเล่นกอล์ฟ โดยสมาคมกอล์ฟแห่งสหรัฐอเมริกา และเดอะ รอยัล แอนด์ แอนเชียน กอล์ฟ คลับ ออฟ เซ็นต์ แอนดรูวส์
แปล และเรียบเรียงโดย สิทธิพร โรจนศิริ กรรมการกฎข้อบังคับ และมรรยาท สมาคมกอล์ฟแห่งประเทศไทย Member ofR&ARefereesSchool 1993 and 1999 (St. AndrewsScotland



ความรับผิดชอบของผู้เล่น
กฎข้อ 6 ผู้เล่น
นิยามศัพท์
มาร์คเกอร์ หมายถึง ผู้ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งให้เป็นผู้จดแต้มของผู้เข้าแข่งขันในการเล่นแบบสโตรคเพลย์ มาร์คเกอร์อาจจะเป็นผู้ร่วมแข่งขัน แต่ไม่ใช่เป็นผู้ตัดสิน
6-1. กฎข้อบังคับ และเงื่อนไขการแข่งขัน
การรับรู้กฎข้อบังคับ และเงื่อนไขต่างๆที่ใช้ในการแข่งขัน เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่น (กฎข้อ 33-1)
6-2. แฮนดี้แคป
ก. การเล่นแบบแมทช์เพลย์
ก่อนเริ่มแมทช์แข่งขันที่ใช้แฮนดี้แคป ผู้เล่นทุกคนควรยืนยันแฮนดี้แคปของตน ถ้าผู้เล่นเริ่มแมทช์แข่งขันโดยแจ้งแฮนดี้แคปที่สูงกว่าที่เป็นจริง และส่งผลต่อจำนวนแต้มที่ได้ให้ หรือได้รับ ผู้เล่นจะถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน หรือมิฉะนั้นผู้เล่นจะต้องเล่นไปตามแฮนดี้แคปที่แจ้งไว้
ข. การเล่นแบบสโตรคเพลย์
ในรอบการแข่งขันที่ใช้แฮนดี้แคป ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตรวจสอบว่าสกอร์การ์ดได้ระบุแฮนดี้แคปของตนให้เรียบร้อย ก่อนนำส่งคืนคณะกรรมการ ถ้าส่งคืนโดยไม่มีแฮนดี้แคปปรากฎอยู่ในสกอร์การ์ด หรือถ้าแฮนดี้แคปที่จดลงไปนั้นสูงกว่าที่มีสิทธิ์ได้รับ ส่งผลกระทบต่อจำนวนแต้มที่ได้รับ ผู้เล่นจะต้องถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันที่ใช้แฮนดี้แคปนั้น หรือมิฉะนั้น แต้มที่เล่นได้จะต้องเป็นไปตามนั้น
หมายเหตุ เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นซึ่งต้องรู้ว่าตนจะให้แฮนดี้แคปฝ่ายตรงข้าม หรือได้รับแฮนดี้แคปที่หลุมใด
6-3. เวลาเริ่มแข่งขัน และกลุ่มแข่งขัน
ก. เวลาเริ่มแข่งขัน
ผู้เล่นจะต้องเริ่มเล่นตามเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
ข. กลุ่มแข่งขัน
ในการเล่นแบบสโตรคเพลย์ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเล่นตามกลุ่มที่คณะกรรมการจัดไว้โดยตลอด เว้นแต่คณะกรรมการอนุญาต หรืออนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลง
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 6-3
ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
(การเล่นประเภทเบสท์บอล และประเภทโฟร์บอล ดูกฎข้อ 30-3ก และ31-2)
หมายเหตุ คณะกรรมการอาจกำหนดไว้ในเงื่อนไขที่ใช้ในการแข่งขัน (กฎข้อ 33-1) ว่า ถ้าผู้เล่นมาถึงจุดที่เริ่มการแข่งขัน พร้อมเล่นภายในห้านาทีหลังเวลาเริ่มแข่งขันของตน หากมีเหตุอันควรที่เชื่อถือได้จากสภาพเหตุการณ์ที่มาล่าช้าที่อาจจะละเว้นการปรับโทษตัดสิทธิ์จากการแข่งขันตามที่กำหนดไว้ในกฎข้อ33-7 ให้ปรับโทษที่ไม่มาเริ่มเล่นตามเวลาคือ ปรับเป็นแพ้ที่หลุมแรกในการแข่งขันแบบแมทช์เพลย์ หรือปรับสองแต้มที่หลุมแรกในการเล่นแบบสโตรคเพลย์ แทนการตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
6-4. แค็ดดี้
ผู้เล่นอาจมีแค็ดดี้ได้เพียงหนึ่งคนในแต่ละครั้งเท่านั้น ภายใต้การตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
หากแค็ดดี้ละเมิดกฎข้อบังคับข้อหนึ่งข้อใดก็ตาม จะส่งผลให้ผู้เล่นถูกปรับโทษตามกฎที่เกี่ยวข้องนั้นๆ
6-5. ลูกกอล์ฟ
การเล่นลูกที่ถูกต้อง เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่น ผู้เล่นแต่ละคนควรทำเครื่องหมายเฉพาะไว้บนลูกของตน
6-6. การนับแต้มในการแข่งขันแบบสโตรคเพลย์
ก. การจดแต้ม
หลังจากเล่นจบแต่ละหลุม มาร์คเกอร์ควรตรวจสอบแต้มกับผู้เข้าแข่งขัน และจดไว้ เมื่อเล่นจบรอบแล้วมาร์คเกอร์จะต้องลงชื่อในสกอร์การ์ด และมอบให้กับผู้เข้าแข่งขัน ถ้ามีมาร์คเกอร์จดแต้มมากกว่าหนึ่งคนเป็นผู้จดแต้ม แต่ละคนจะต้องลงชื่อในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ
ข. การลงชื่อ และการส่งสกอร์การ์ด
หลังจากเล่นจบรอบแล้ว ผู้เข้าแข่งขันควรตรวจทานแต้มของแต่ละหลุมของตน และขจัดข้อสงสัยในการเล่นกับคณะกรรมการ ผู้เข้าแข่งจะต้องแน่ใจว่ามาร์คเกอร์ได้ลงชื่อในสกอร์การ์ด แล้วจึงลงชื่อร่วมในสกอร์การ์ดด้วยตนเอง และนำส่งคืนต่อคณะกรรมการโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 6-6ข
ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
ค. การแก้ไขสกอร์การ์ด
หลังจากส่งสกอร์การ์ดคืนให้กับคณะกรรมการแล้ว ไม่อาจทำการแก้ไขสกอร์การ์ดได้
ง. หลุมที่จดแต้มผิด
ผู้เข้าแข่งขันป็นผู้รับผิดชอบในความถูกต้องของแต้มของแต่ละหลุมที่จดไว้ในสกอร์การ์ด ถ้าผู้เข้าแข่งขันส่งแต้มของหลุมใดต่ำกว่าแต้มจริงที่ทำได้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน ถ้าจดแต้มของหลุมใดสูงกว่าแต้มจริงที่ทำได้ ให้ถือว่าเป็นแต้มคงไว้ตามที่ส่งมา
หมายเหตุ 1 คณะกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบในการรวมแต้ม และในการหักแฮนดี้แคปตามที่จดไว้ในสกอร์การ์ด - ดูกฎข้อ 33-5
หมายเหตุ 2 การเล่นประเภทโฟร์บอลแบบสโตรคเพลย์ ดูทั้งกฎข้อ 31-4 และข้อ 31-7
6-7. การเล่นช้าเกินควร และการเล่นช้า
ผู้เล่นจะต้องเล่นโดยไม่ชักช้า และเล่นตามเวลาที่คณะกรรมการอาจกำหนดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุมเวลาเล่น เมื่อจบการเล่นของหลุมหนึ่งหลุมใดแล้ว รวมถึงการเล่นบนแท่นตั้งทีของหลุมต่อไป ผู้เล่นจะต้องไม่ทำให้การเล่นล่าช้า
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 6-7
การเล่นแบบแมทช์เพลย์ – ปรับเป็นแพ้ในหลุมนั้น
การเล่นแบบสโตรคเพลย์ - ปรับสองแต้ม
การแข่งขันแบบโบกี้ และพาร์ – ดูหมายเหตุ กฎข้อ 32-1
การแข่งขันแบบสเตเบิ้ลฟอร์ด – ดูหมายเหตุ กฎข้อ 32-1
การละเมิดครั้งต่อไป - ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
หมายเหตุ 1 ถ้าผู้เล่นได้เล่นช้าเกินควรระหว่างหลุมต่างๆ และกำลังทำให้การเล่นในหลุมต่อไปล่าช้า ให้ปรับโทษที่หลุมนั้น ยกเว้นการเล่นประเภท โบกี้ พาร์ และสเตเบิ้ลฟอร์ด (ดูกฎข้อ 32)
หมายเหตุ 2 เพื่อป้องกันการเล่นล่าช้า คณะกรรมการอาจกำหนดในเงื่อนไขที่ใช้ในการแข่งขัน (กฎข้อ33-1) เกี่ยวกับเวลาที่ใช้ในการเล่นเพื่อเป็นแนวทาง รวมถึงช่วงเวลามากที่สุดที่อนุญาตให้เล่นจนจบรอบที่กำหนด หรืออนุญาตให้ใช้เวลาในการเล่นจนจบหลุมใดหลุมหนึ่ง หรืออนุญาตให้ใช้เวลาในการตีต่อครั้ง
ในการแข่งขันแบบสโตรคเพลย์เท่านั้น คณะกรรมการอาจแก้ไขการปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อนี้ได้ดังต่อไปนี้
ละเมิดกฎครั้งแรก - ปรับหนึ่งแต้ม
ละเมิดกฎครั้งที่สอง - ปรับสองแต้ม
ละเมิดกฎครั้งต่อไป - ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
6-8. การหยุดพักการเล่น และการกลับเข้าไปเล่นต่อ
ก. เมื่อได้รับอนุญาต
ผู้เล่นจะต้องไม่หยุดการเล่น นอกจาก
(1) คณะกรรมการส่งสัญญาณให้หยุดการเล่นชั่วคราว
(2) ผู้เล่นเชื่อว่าจะมีอันตรายเกิดจากฟ้าผ่า
(3) ผู้เล่นกำลังคอยคำตัดสินจากคณะกรรมการในเรื่องข้อสงสัย หรือข้อขัดแย้ง (ดูกฎข้อ 2-5 และ 34-3)หรือ
(4) มีเหตุผลอันสมควรอื่นๆ เช่น การเจ็บป่วยกะทันหัน เป็นต้น
สภาพอากาศเลวร้ายไม่ใช่เหตุผลสมควรที่จะหยุดการเล่น
ถ้าผู้เล่นหยุดเล่นโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยเฉพาะจากคณะกรรมการ ผู้เล่นจะต้องรายงานต่อคณะกรรมการโดยเร็วเท่าที่สามารถทำได้ ถ้าผู้เล่นรายงานแล้ว และคณะกรรมการพิจารณาเหตุผลของผู้เล่นจนเป็นที่พอใจ ผู้เล่นไม่ถูกปรับโทษ มิฉะนั้น ผู้เล่นจะถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
ข้อยกเว้นในการเล่นแบบแมทช์เพลย์ ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายตกลงหยุดการเล่น ไม่ปรับโทษตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน นอกจากการกระทำดังกล่าวทำให้การแข่งขันล่าช้า
หมายเหตุ การออกจากสนามไม่ถือว่าเป็นการหยุดเล่น
ข. การปฏิบัติเมื่อคณะกรรมการให้หยุดการเล่นชั่วคราว
เมื่อคณะกรรมการให้หยุดการเล่นชั่วคราวแล้ว ถ้าผู้เล่นในแมทช์ หรือผู้เล่นในกลุ่มอยู่ระหว่างการต่อเนื่องของสองหลุม ผู้เล่นทุกคนจะต้องไม่เข้าไปเล่นต่อ จนกว่าคณะกรรมการจะสั่งให้เข้าไปเล่นต่อได้ ถ้าผู้เล่นอยู่ระหว่างการเล่นในหลุมหนึ่งหลุมใด ก็อาจเล่นต่อได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเล่นต่อไปโดยไม่ชักช้า ถ้าผู้เล่นเลือกที่จะเล่นต่อ ทันทีที่เล่นจบหลุมนั้นๆแล้ว ผู้เล่นจะต้องไม่เล่นต่อ จนกว่าคณะกรรมการสั่งให้กลับเข้าไปเล่นต่อ
ผู้เล่นจะต้องกลับเข้าไปเล่นต่อ เมื่อคณะกรรมการได้สั่งให้มีการกลับเข้าไปเล่นต่อ
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 6-8ข
ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
หมายเหตุ คณะกรรมการอาจกำหนดเงื่อนไขที่ใช้ในการแข่งขัน (กฎข้อ 33-1) ว่า ในสถานการณ์ที่อาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรง จะต้องหยุดเล่นทันทีตามที่คณะกรรมการสั่งให้หยุดการเล่นชั่วคราว ถ้าผู้เล่นไม่หยุดเล่นทันที ผู้เล่นจะต้องถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน นอกจากมีเหตุผลสมควรในการละเว้นโทษนี้ ตามที่กำหนดไว้ในกฎข้อ 33-7
ค. การหยิบลูกขึ้นเมื่อหยุดการเล่น
เมื่อผู้เล่นหยุดเล่นในหลุมใดหลุมหนึ่งตามกฎข้อ 6-8 ผู้เล่นอาจหยิบลูกของตนขึ้นโดยไม่มีการปรับโทษในกรณีที่คณะกรรมการได้ให้หยุดเล่นชั่วคราวเท่านั้น หรือมีเหตุอันควรที่จะหยิบลูก ก่อนหยิบลูก ผู้เล่นต้องมาร์คตำแหน่งลูก ถ้าผู้เล่นหยุดเล่น และหยิบลูกของตนโดยไม่มีการอนุญาตเฉพาะกรณีจากคณะกรรมการ เมื่อรายงานต่อคณะกรรมการ (กฎข้อ 6-8ก) ผู้เล่นจะต้องรายงานการหยิบลูกด้วย
ถ้าผู้เล่นหยิบลูกขึ้นโดยไม่มีเหตุอันควร ไม่มาร์คตำแหน่งลูกก่อนหยิบลูก หรือไม่รายงานเรื่องการหยิบลูกผู้เล่นจะต้องถูกปรับโทษหนึ่งแต้ม
ง. การปฏิบัติเมื่อกลับเข้าไปเล่นต่อ
การกลับเขาไปเล่นต่อ จะต้องเล่นตรงจุดที่หยุดเล่น แม้ว่าการกลับเข้าไปเล่นต่อจะกระทำในวันต่อไป และไม่ว่าทั้งก่อนกลับเข้าไปเล่นต่อ หรือเมื่อกลับเข้าไปเล่นต่อ ผู้เล่นจะต้องปฏิบัติดังนี้
(1) ถ้าผู้เล่นได้หยิบลูกขึ้นตามเงื่อนไขที่ผู้เล่นได้รับสิทธิ์ภายใต้กฎข้อ 6-8 ผู้เล่นจะต้องวางลูกใดลูกหนึ่งตรงจุดที่หยิบลูกเดิมขึ้นมา หรือไม่ก็ต้องนำลูกเดิมกลับไปวางไว้ที่เดิม
(2) ถ้าผู้เล่นได้รับสิทธิ์ในการหยิบลูกของตนขึ้นตามกฎข้อ 6-8ค และไม่ได้ใช้สิทธิ์นั้น ผู้เล่นอาจหยิบ และทำความสะอาดลูก และนำลูกกลับไปวางไว้ที่เดิม หรือใช้อีกลูกหนึ่งมาวางแทนตรงจุดที่ได้หยิบลูกเดิมขึ้นมา ผู้เล่นต้องมาร์คตำแหน่งลูกก่อนหยิบลูกขึ้น หรือ
(3) ถ้าลูก หรือที่มาร์คลูกของผู้เล่นเคลื่อนที่ (โดยลม หรือน้ำ) ในที่ขณะการเล่นได้หยุดลง จะต้องนำลูกหรือที่มาร์คลูกกลับไปวางที่จุดที่ลูก หรือที่มาร์คลูกถูกทำให้เคลื่อนที่ไป
(ไม่สามารถหาจุดวางได้ ดูกฎข้อ 20-3ค)
*การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 6-8ง
การเล่นแบบแมทช์เพลย์ – ปรับเป็นแพ้ในหลุมนั้น
การเล่นแบบสโตรคเพลย์ – ปรับสองแต้ม
*ถ้าผู้เล่นถูกปรับโทษทั่วไปสำหรับการละเมิดกฎข้อ 6-8ง จะต้องไม่นำกฎข้อ 6-8ค มาปรับเพิ่มอีก
กฎข้อ 7 การฝึกซ้อม
นิยามศัพท์
สนาม หมายถึง บริเวณพื้นที่ภายในทั้งหมดที่อนุญาตให้เล่น (ดูกฎข้อ 33-2)
7-1. ก่อน หรือระหว่างรอบต่างๆ
ก. การเล่นแบบแมทช์เพลย์
ในวันที่ทำการแข่งขันแบบแมทช์เพลย์ ก่อนรอบการแข่งขัน ผู้เล่นอาจฝึกซ้อมในสนามที่ใช้ทำการแข่งขันได้
ข. การเล่นแบบสโตรคเพลย์
ในวันที่ทำการแข่งขันแบบสโตรคเพลย์ หรือในการเพลย์ออฟ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไม่ฝึกซ้อมในสนามที่ใช้แข่งขัน หรือทดสอบสภาพผิวกรีนใดๆในสนามก่อนรอบการแข่งขัน หรือก่อนการเพลย์ออฟ เมื่อมีการแข่งขันแบบสโตรคเพลย์มากกว่าสอง หรือสามรอบในหลายวันติดต่อกัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไม่ฝึกซ้อมหรือทดสอบสภาพผิวกรีนใดๆในสนามที่ใช้ทำการแข่งขัน หรือรอบต่างๆที่ยังเหลือสำหรับทำการแข่งขันต่อไป
ข้อยกเว้น: อนุญาตให้ซ้อมพัต หรือซ้อมชิพใกล้กับแท่นตั้งทีของหลุมแรกก่อนเริ่มรอบการแข่งขัน หรือก่อนเพลย์ออฟได้
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 7-1ข.
ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
หมายเหตุ คณะกรรมการอาจกำหนดในเงื่อนไขที่ใช้ในการแข่งขัน (กฎข้อ 33-1) ห้ามทำการฝึกซ้อมในสนามที่ใช้ทำการแข่งขัน ในวันใดวันหนึ่งสำหรับการแข่งขันแบบแมทช์เพลย์ หรือในการแข่งขันแบบสโตรคเพลย์ อาจอนุญาตให้ฝึกซ้อมในสนามที่ใช้ทำการแข่งขัน หรือในส่วนใดของสนาม (กฎข้อ 33-2ค)ในวันใดวันหนึ่ง หรือในระหว่างรอบหลายรอบก็ได้
7-2. ระหว่างรอบการแข่งขัน
ผู้เล่นจะต้องไม่ซ้อมตีลูกขณะเล่นอยู่ในแต่ละหลุม หรือระหว่างการเล่นต่อกันของสองหลุม เว้นแต่ว่า ระหว่างการเล่นต่อกันของหลุมนั้น ผู้เล่นอาจจะซ้อมพัต หรือซ้อมชิพบน หรือใกล้กับกรีนของหลุมที่เล่นจบไป หรือบนกรีนซ้อม หรือบนแท่นตั้งที่ของหลุมที่จะเล่นต่อไปในรอบนั้น ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องไม่ฝึกซ้อมตีลูกออกจากเขตอุปสรรค และไม่ทำให้ความเกิดล่าช้าในการเล่น (กฎข้อ 6-7)
การตีลูกเพื่อเล่นต่อให้จบหลุม ถึงแม้ว่าจะรู้ผลตัดสินแล้ว ไม่ถือเป็นการซ้อมตีลูก
ข้อยกเว้น เมื่อคณะกรรมการได้สั่งให้หยุดการเล่นชั่วคราว ก่อนจะกลับเข้าไปเล่นต่อ ผู้เล่นอาจฝึกซ้อม (ก) ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎข้อนี้ (ข) ในที่อื่นที่ไม่ใช่สนามที่ใช้ทำการแข่งขัน และ (ค) ตามที่คณะกรรมการอนุญาตให้กระทำได้
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 7-2การเล่นแบบแมทช์เพลย์ – ปรับเป็นแพ้ในหลุมนั้น
การเล่นแบบสโตรคเพลย์ - ปรับสองแต้ม
ในกรณีที่มีการละเมิดกฎข้อบังคับระหว่างช่วงต่อเนื่องของหลุม ให้ปรับโทษที่หลุมต่อไป
หมายเหตุ 1 การซ้อมสวิงไม่ใช่เป็นการซ้อมตีลูก และอาจจะทำในที่ใดๆก็ได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องไม่ละเมิดกฎข้อบังคับ
หมายเหตุ 2 คณะกรรมการอาจห้ามการซ้อมบนกรีน หรืออาจห้ามซ้อมใกล้กับกรีนของหลุมที่เล่นจบไปแล้วก็ได้

กฎข้อ คำปรึกษา และการชี้เส้นทางเล่น
นิยามศัพท์
คำปรึกษา หมายถึง คำตักเตือน หรือคำแนะนำซึ่งสามารถส่งผลให้ผู้เล่นนำไปกำหนดการเล่น เช่น การเลือกใช้ไม้กอล์ฟ หรือวิธีการตี
การบอกล่าวเรื่องกฎข้อบังคับ หรือข้อมูลซึ่งเป็นที่เปิดเผยทั่วไป เช่น ตำแหน่งอุปสรรค หรือตำแหน่งคันธงบนกรีน ไม่ถือว่าเป็นคำปรึกษา
เส้นทางเล่น หมายถึง ทิศทางที่ผู้เล่นต้องการตีลูกของตนไป บวกกับระยะด้านข้างพอสมควรทั้งสองข้างของทิศทางนั้น เส้นทางเล่นขยายต่อเนื่องขึ้นในแนวตั้งฉากจากพื้น แต่เส้นทางเล่นไม่ต่อเนื่องเลยหลุม
8-1. คำปรึกษา
ในระหว่างรอบที่กำหนด ผู้ล่นจะต้องไม่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ใดในการแข่งขัน ยกเว้นพาร์ทเน่อร์ของตน ผู้เล่นอาจจะขอคำปรึกษาจากพาร์ทเน่อร์ หรือแค็ดดี้ของตน และแคดดี้ของพาร์ทเน่อร์ได้เท่านั้น
8-2. การชี้เส้นทางเล่น
ก. ในที่อื่นนอกจากบนกรีน
ยกเว้นบนกรีน ผู้เล่นอาจให้ผู้หนึ่งผู้ใดชี้เส้นทางเล่นได้ แต่จะต้องไม่มีผู้ใดยืนอยู่ใกล้กับผู้เล่น หรืออยู่ใกล้เส้นทางเล่น หรืออยู่ใกล้เส้นทางที่ต่อเนื่องเลยหลุมออกไปในขณะผู้เล่นกำลังทำการตี ถ้ามีเครื่องหมายใดวางไว้โดยผู้เล่นระหว่างการเล่นในหลุมใดหลุมหนึ่ง หรือผู้เล่นรับรู้ว่าเป็นสิ่งบ่งชี้เส้นทางเล่นจะต้องนำออกไปก่อนตีลูก
ข้อยกเว้น การเฝ้าคันธง หรือการยกคันธงไว้ ดูกฎข้อ 17-1
ข. บนกรีน
เมื่อลูกของผู้เล่นอยู่บนกรีน ผู้เล่น หรือแค็ดดี้ของตน หรือพาร์ทเน่อร์ หรือแคดดี้ของพาร์ทเน่อร์ อาจชี้เส้นทางพัตให้แก่กันได้ แต่ไม่ใช่ระหว่างการพัต(การตี) และการกระทำดังกล่าวจะต้องไม่ไปสัมผัสกรีนและจะต้องไม่วางเครื่องหมายในที่หนึ่งที่ใดเพื่อเป็นการชี้เส้นทางพัต
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎ
การเล่นแบบแมทช์เพลย์ – ปรับเป็นแพ้ในหลุมนั้น
การเล่นแบบสโตรคเพลย์ - ปรับสองแต้ม
หมายเหตุ คณะกรรมการอาจกำหนดเงื่อนไขในการแข่งขันประเภททีม (กฎข้อ 33-1) โดยอนุญาตให้แต่ละทีมแต่งตั้งบุคคลผู้หนึ่งซึ่งอาจจะให้คำปรึกษา (รวมถึงการชี้เส้นทางพัต) แก่สมาชิกในทีมนั้นๆได้คณะกรรมการอาจกำหนดเงื่อนไขต่างๆเกี่ยวกับการแต่งตั้ง และขอบเขตที่อนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลผู้นั้น และต้องแสดงตัวต่อคณะกรรมการก่อนให้คำปรึกษา

กฎข้อ การแจ้งจำนวนแต้มที่ทำได้
9-1. ทั่วไป
จำนวนการตีที่ผู้เล่นทำได้ จะต้องรวมแต้มปรับโทษใดๆที่เกิดขึ้นด้วย
9-2. การเล่นแบบแมทช์เพลย์
ผู้เล่นซึ่งได้ถูกปรับโทษ จะต้องแจ้งให้ฝ่ายตรงข้ามทราบโดยเร็วเท่าที่สามารถทำได้ เว้นแต่ฝ่ายตรงข้ามได้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้เล่นได้ปฏิบัติภายใต้กฎข้อบังคับเมื่อมีการปรับโทษเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าผู้เล่นละเลยที่จะแจ้งฝ่ายตรงข้าม ถึงแม้ไม่รู้ตัวว่าต้องถูกปรับโทษ จะต้องถือว่าเป็นการแจ้งแต้มผิด
ระหว่างการเล่นในหลุมใดหลุมหนึ่ง หรือหลังจากเล่นจบหลุมใดหลุมหนึ่งไปแล้ว ฝ่ายตรงข้ามมีสิทธิ์สอบถามจากผู้เล่น เพื่อให้แน่ใจกับ จำนวนแต้มของหลุมที่เล่นไปแล้ว
ระหว่างการเล่นในหลุมใดหลุมหนึ่ง ถ้าผู้เล่นแจ้ง หรือถือว่าผู้เล่นแจ้งจำนวนแต้มที่ทำได้ผิดพลาด หากมีการแก้ไขความผิดพลาดนั้นให้ถูกต้องก่อนฝ่ายตรงข้ามตีครั้งต่อไป ผู้เล่นจะไม่ถูกปรับโทษ ถ้าผู้เล่นไม่แก้ไขการแจ้งข้อผิดพลาดนั้นให้ถูกต้อง ผู้เล่นจะต้องถูกปรับแพ้ในหลุมนั้น
หลังจากเล่นจบหลุมหนึ่งหลุมใดแล้ว ถ้าผู้เล่นแจ้ง หรือถือว่าผู้เล่นได้แจ้งจำนวนแต้มที่ทำได้ในหลุมที่เพิ่งเล่นจบไปแล้วนั้นผิดพลาดไป และมีผลกระทบต่อความเข้าใจของฝ่ายตรงข้ามต่อผลการเล่นของหลุมนั้นถ้าผู้เล่นแก้ไขความผิดพลาดให้ถูกต้อง ก่อนผู้เล่นคนหนึ่งคนใดเล่นจากแท่นตั้งทีของหลุมต่อไป หรือในกรณีหลุมสุดท้ายของการเล่นแบบแมทช์เพลย์ ก่อนที่ผู้เล่นทั้งหมดลงจากกรีน ผู้เล่นจะไม่ถูกปรับโทษถ้าผู้เล่นไม่แก้ไขการบอกผิดพลาดนั้น ผู้เล่นจะต้องถูกปรับเป็นแพ้ในหลุมนั้น
9-3. การเล่นแบบสโตรคเพลย์
ผู้เข้าแข่งขันซึ่งได้ถูกปรับโทษ ควรแจ้งมาร์คเกอร์ของตนให้ทราบโดยเร็วเท่าที่สามารถทำได้

กฎข้อ 10 ลำดับการเล่น
นิยามศัพท์
ผู้เล่นซึ่งมีเกียรติได้เล่นจากแท่นตั้งทีเป็นคนแรก เรียกว่าได้ ออนเน่อร์
10-1. การเล่นแบบแมทช์เพลย์
ก. บนแท่นตั้งที
ฝ่ายที่จะต้องได้ออนเน่อร์บนแท่นตั้งทีของหลุมแรก จะถูกกำหนดจากลำดับของการแบ่งกลุ่ม ถ้าไม่มีการแบ่งกลุ่มไว้ล่วงหน้า ควรตัดสินการได้ออนเน่อร์ด้วยการจับฉลาก
ฝ่ายซึ่งชนะในหลุมใด จะต้องได้ออนเน่อร์บนแท่นตั้งทีของหลุมต่อไป ถ้าเสมอกันในหลุมใด ฝ่ายที่ได้ออนเน่อร์บนแท่นตั้งทีของหลุมก่อนหน้านั้น ยังคงต้องได้ออนเน่อร์สืบต่อไป
ข. นอกแท่นตั้งที
เมื่อลูกทั้งหมดอยู่ในการเล่น ลูกที่อยู่ไกลหลุมกว่าจะต้องได้เล่นก่อน ถ้าลูกอยู่ห่างจากหลุมระยะเท่ากันควรตัดสินว่าลูกใดได้เล่นก่อนด้วยการจับฉลาก
ข้อยกเว้น กฎข้อ 30-3 ค. (ประเภทเบสท์บอล และโฟร์บอลแบบแมทช์เพลย์)
ค. การเล่นผิดลำดับ
ถ้าผู้เล่นตีลูกเมื่อฝ่ายตรงข้ามควรจะได้เล่นก่อน ฝ่ายตรงข้ามอาจขอให้ยกเลิกการตีดังกล่าวได้ทันที และให้เล่นตามลำดับที่ถูกต้อง จากจุดที่ใกล้ที่สุดจากจุดเดิมที่เล่นลูกไปครั้งสุดท้าย (ดูกฎข้อ 20-5) โดยไม่มีการปรับโทษ
10-2. การเล่นแบบสโตรคเพลย์
ก. บนแท่นตั้งที
ผู้เข้าแข่งขันซึ่งจะต้องได้ออนเน่อร์บนแท่นตั้งทีของหลุมแรก จะถูกกำหนดจากลำดับของการแบ่งกลุ่ม หากไม่มีการแบ่งกลุ่มไว้ ก็ให้ตัดสินด้วยการจับฉลาก
ผู้เข้าแข่งขันซึ่งทำแต้มน้อยที่สุดในหลุมใดหลุมหนึ่ง จะต้องได้ออนเน่อร์บนแท่นตั้งทีของหลุมต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำแต้มน้อยที่สุดอันดับสองจะต้องเล่นเป็นคนต่อไปตามลำดับ ถ้าผู้เข้าแข่งขันสองคน หรือมากกว่านั้นทำแต้มเท่ากันในหลุมใดหลุมหนึ่ง จะต้องเล่นจากแท่นตั้งทีของหลุมต่อไปตามลำดับของการเล่นบนแท่นตั้งทีของหลุมก่อนหน้านั้น
ข. นอกแท่นตั้งที
เมื่อลูกทั้งหมดอยู่ในการเล่น ลูกที่อยู่ไกลจากหลุมมากที่สุดจะต้องได้เล่นก่อน ถ้าลูกสองลูก หรือมากกว่านั้นอยู่ไกลจากหลุมระยะทางเท่ากัน ให้ตัดสินว่าลูกใดจะได้เล่นก่อนด้วยการจับฉลาก
ข้อยกเว้น กฎข้อ 22 (ลูกกีดขวาง หรือลูกช่วยเหลือการเล่น) และกฎข้อ 31-5 (การเล่นประเภทโฟร์บอลแบบสโตรคเพลย์)
ค. เล่นผิดลำดับ
ถ้าผู้เข้าแข่งขันเล่นผิดลำดับ จะต้องเล่นลูกนั้นต่อไปตามสภาพที่ลูกอยู่โดยไม่มีการปรับโทษ อย่างไรก็ตาม ถ้าคณะกรรมการเห็นว่า ผู้เข้าแข่งขันสมยอมที่จะเล่นตามลำดับอื่นใดนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 2ก ข้อ 2 และข้อ ของกฎข้อนี้ แล้วส่งผลให้ผู้หนึ่งผู้ใดเกิดความได้เปรียบ ผู้เข้าแข่งขันที่เกี่ยวข้องทุกคนจะต้องถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
(การเล่นลูกขณะที่อีกลูกหนึ่งกำลังเคลื่อนที่บนกรีน - ดูกฎข้อ 16-1ฉ)
(การเล่นผิดลำดับในการเล่นประเภททรีซั่มส์ และโฟร์ซั่มส์แบบสโตรคเพลย์ – ดูกฎข้อ 29-3)
10-3. การเล่นลูกสำรอง หรือลูกที่สองจากแท่นตั้งที
ถ้าผู้เล่นจะเล่นลูกสำรอง หรือเล่นลูกที่สองจากแท่นตั้งที ผู้เล่นจะต้องเล่นหลังจากฝ่ายตรงข้าม หรือผู้ร่วมแข่งขันได้ตีลูกแรกไปแล้ว ถ้าผู้เล่นได้เล่นลูกสำรอง หรือเล่นลูกที่สองผิดลำดับ จะต้องนำกฎย่อยข้อ 1ค และข้อ 2 ของกฎข้อนี้มาใช้บังคับ
10-4. ลูกเคลื่อนที่ระหว่างการวัดระยะ
ถ้าลูกเคลื่อนที่ระหว่างการวัดระยะเพื่อกำหนดว่าลูกใดอยู่ไกลจากหลุมมากกว่ากัน ให้นำลูกมาวางไว้ที่เดิมโดยไม่มีการปรับโทษกฎข้อบังคับในการเล่นกอล์ฟ โดยสมาคมกอล์ฟแห่งสหรัฐอเมริกา และเดอะ รอยัล แอนด์ แอนเชียน กอล์ฟ คลับ ออฟ เซ็นต์ แอนดรูวส์
แปล และเรียบเรียงโดย สิทธิพร โรจนศิริ กรรมการกฎข้อบังคับ และมรรยาท สมาคมกอล์ฟแห่งประเทศไทย Member ofR&ARefereesSchool 1993 and 1999 (St. AndrewsScotland



ความรับผิดชอบของผู้เล่น
กฎข้อ 6 ผู้เล่น
นิยามศัพท์
มาร์คเกอร์ หมายถึง ผู้ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งให้เป็นผู้จดแต้มของผู้เข้าแข่งขันในการเล่นแบบสโตรคเพลย์ มาร์คเกอร์อาจจะเป็นผู้ร่วมแข่งขัน แต่ไม่ใช่เป็นผู้ตัดสิน
6-1. กฎข้อบังคับ และเงื่อนไขการแข่งขัน
การรับรู้กฎข้อบังคับ และเงื่อนไขต่างๆที่ใช้ในการแข่งขัน เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่น (กฎข้อ 33-1)
6-2. แฮนดี้แคป
ก. การเล่นแบบแมทช์เพลย์
ก่อนเริ่มแมทช์แข่งขันที่ใช้แฮนดี้แคป ผู้เล่นทุกคนควรยืนยันแฮนดี้แคปของตน ถ้าผู้เล่นเริ่มแมทช์แข่งขันโดยแจ้งแฮนดี้แคปที่สูงกว่าที่เป็นจริง และส่งผลต่อจำนวนแต้มที่ได้ให้ หรือได้รับ ผู้เล่นจะถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน หรือมิฉะนั้นผู้เล่นจะต้องเล่นไปตามแฮนดี้แคปที่แจ้งไว้
ข. การเล่นแบบสโตรคเพลย์
ในรอบการแข่งขันที่ใช้แฮนดี้แคป ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตรวจสอบว่าสกอร์การ์ดได้ระบุแฮนดี้แคปของตนให้เรียบร้อย ก่อนนำส่งคืนคณะกรรมการ ถ้าส่งคืนโดยไม่มีแฮนดี้แคปปรากฎอยู่ในสกอร์การ์ด หรือถ้าแฮนดี้แคปที่จดลงไปนั้นสูงกว่าที่มีสิทธิ์ได้รับ ส่งผลกระทบต่อจำนวนแต้มที่ได้รับ ผู้เล่นจะต้องถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันที่ใช้แฮนดี้แคปนั้น หรือมิฉะนั้น แต้มที่เล่นได้จะต้องเป็นไปตามนั้น
หมายเหตุ เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นซึ่งต้องรู้ว่าตนจะให้แฮนดี้แคปฝ่ายตรงข้าม หรือได้รับแฮนดี้แคปที่หลุมใด
6-3. เวลาเริ่มแข่งขัน และกลุ่มแข่งขัน
ก. เวลาเริ่มแข่งขัน
ผู้เล่นจะต้องเริ่มเล่นตามเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
ข. กลุ่มแข่งขัน
ในการเล่นแบบสโตรคเพลย์ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเล่นตามกลุ่มที่คณะกรรมการจัดไว้โดยตลอด เว้นแต่คณะกรรมการอนุญาต หรืออนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลง
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 6-3
ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
(การเล่นประเภทเบสท์บอล และประเภทโฟร์บอล ดูกฎข้อ 30-3ก และ31-2)
หมายเหตุ คณะกรรมการอาจกำหนดไว้ในเงื่อนไขที่ใช้ในการแข่งขัน (กฎข้อ 33-1) ว่า ถ้าผู้เล่นมาถึงจุดที่เริ่มการแข่งขัน พร้อมเล่นภายในห้านาทีหลังเวลาเริ่มแข่งขันของตน หากมีเหตุอันควรที่เชื่อถือได้จากสภาพเหตุการณ์ที่มาล่าช้าที่อาจจะละเว้นการปรับโทษตัดสิทธิ์จากการแข่งขันตามที่กำหนดไว้ในกฎข้อ33-7 ให้ปรับโทษที่ไม่มาเริ่มเล่นตามเวลาคือ ปรับเป็นแพ้ที่หลุมแรกในการแข่งขันแบบแมทช์เพลย์ หรือปรับสองแต้มที่หลุมแรกในการเล่นแบบสโตรคเพลย์ แทนการตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
6-4. แค็ดดี้
ผู้เล่นอาจมีแค็ดดี้ได้เพียงหนึ่งคนในแต่ละครั้งเท่านั้น ภายใต้การตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
หากแค็ดดี้ละเมิดกฎข้อบังคับข้อหนึ่งข้อใดก็ตาม จะส่งผลให้ผู้เล่นถูกปรับโทษตามกฎที่เกี่ยวข้องนั้นๆ
6-5. ลูกกอล์ฟ
การเล่นลูกที่ถูกต้อง เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่น ผู้เล่นแต่ละคนควรทำเครื่องหมายเฉพาะไว้บนลูกของตน
6-6. การนับแต้มในการแข่งขันแบบสโตรคเพลย์
ก. การจดแต้ม
หลังจากเล่นจบแต่ละหลุม มาร์คเกอร์ควรตรวจสอบแต้มกับผู้เข้าแข่งขัน และจดไว้ เมื่อเล่นจบรอบแล้วมาร์คเกอร์จะต้องลงชื่อในสกอร์การ์ด และมอบให้กับผู้เข้าแข่งขัน ถ้ามีมาร์คเกอร์จดแต้มมากกว่าหนึ่งคนเป็นผู้จดแต้ม แต่ละคนจะต้องลงชื่อในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ
ข. การลงชื่อ และการส่งสกอร์การ์ด
หลังจากเล่นจบรอบแล้ว ผู้เข้าแข่งขันควรตรวจทานแต้มของแต่ละหลุมของตน และขจัดข้อสงสัยในการเล่นกับคณะกรรมการ ผู้เข้าแข่งจะต้องแน่ใจว่ามาร์คเกอร์ได้ลงชื่อในสกอร์การ์ด แล้วจึงลงชื่อร่วมในสกอร์การ์ดด้วยตนเอง และนำส่งคืนต่อคณะกรรมการโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 6-6ข
ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
ค. การแก้ไขสกอร์การ์ด
หลังจากส่งสกอร์การ์ดคืนให้กับคณะกรรมการแล้ว ไม่อาจทำการแก้ไขสกอร์การ์ดได้
ง. หลุมที่จดแต้มผิด
ผู้เข้าแข่งขันป็นผู้รับผิดชอบในความถูกต้องของแต้มของแต่ละหลุมที่จดไว้ในสกอร์การ์ด ถ้าผู้เข้าแข่งขันส่งแต้มของหลุมใดต่ำกว่าแต้มจริงที่ทำได้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน ถ้าจดแต้มของหลุมใดสูงกว่าแต้มจริงที่ทำได้ ให้ถือว่าเป็นแต้มคงไว้ตามที่ส่งมา
หมายเหตุ 1 คณะกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบในการรวมแต้ม และในการหักแฮนดี้แคปตามที่จดไว้ในสกอร์การ์ด - ดูกฎข้อ 33-5
หมายเหตุ 2 การเล่นประเภทโฟร์บอลแบบสโตรคเพลย์ ดูทั้งกฎข้อ 31-4 และข้อ 31-7
6-7. การเล่นช้าเกินควร และการเล่นช้า
ผู้เล่นจะต้องเล่นโดยไม่ชักช้า และเล่นตามเวลาที่คณะกรรมการอาจกำหนดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุมเวลาเล่น เมื่อจบการเล่นของหลุมหนึ่งหลุมใดแล้ว รวมถึงการเล่นบนแท่นตั้งทีของหลุมต่อไป ผู้เล่นจะต้องไม่ทำให้การเล่นล่าช้า
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 6-7
การเล่นแบบแมทช์เพลย์ – ปรับเป็นแพ้ในหลุมนั้น
การเล่นแบบสโตรคเพลย์ - ปรับสองแต้ม
การแข่งขันแบบโบกี้ และพาร์ – ดูหมายเหตุ กฎข้อ 32-1
การแข่งขันแบบสเตเบิ้ลฟอร์ด – ดูหมายเหตุ กฎข้อ 32-1
การละเมิดครั้งต่อไป - ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
หมายเหตุ 1 ถ้าผู้เล่นได้เล่นช้าเกินควรระหว่างหลุมต่างๆ และกำลังทำให้การเล่นในหลุมต่อไปล่าช้า ให้ปรับโทษที่หลุมนั้น ยกเว้นการเล่นประเภท โบกี้ พาร์ และสเตเบิ้ลฟอร์ด (ดูกฎข้อ 32)
หมายเหตุ 2 เพื่อป้องกันการเล่นล่าช้า คณะกรรมการอาจกำหนดในเงื่อนไขที่ใช้ในการแข่งขัน (กฎข้อ33-1) เกี่ยวกับเวลาที่ใช้ในการเล่นเพื่อเป็นแนวทาง รวมถึงช่วงเวลามากที่สุดที่อนุญาตให้เล่นจนจบรอบที่กำหนด หรืออนุญาตให้ใช้เวลาในการเล่นจนจบหลุมใดหลุมหนึ่ง หรืออนุญาตให้ใช้เวลาในการตีต่อครั้ง
ในการแข่งขันแบบสโตรคเพลย์เท่านั้น คณะกรรมการอาจแก้ไขการปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อนี้ได้ดังต่อไปนี้
ละเมิดกฎครั้งแรก - ปรับหนึ่งแต้ม
ละเมิดกฎครั้งที่สอง - ปรับสองแต้ม
ละเมิดกฎครั้งต่อไป - ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
6-8. การหยุดพักการเล่น และการกลับเข้าไปเล่นต่อ
ก. เมื่อได้รับอนุญาต
ผู้เล่นจะต้องไม่หยุดการเล่น นอกจาก
(1) คณะกรรมการส่งสัญญาณให้หยุดการเล่นชั่วคราว
(2) ผู้เล่นเชื่อว่าจะมีอันตรายเกิดจากฟ้าผ่า
(3) ผู้เล่นกำลังคอยคำตัดสินจากคณะกรรมการในเรื่องข้อสงสัย หรือข้อขัดแย้ง (ดูกฎข้อ 2-5 และ 34-3)หรือ
(4) มีเหตุผลอันสมควรอื่นๆ เช่น การเจ็บป่วยกะทันหัน เป็นต้น
สภาพอากาศเลวร้ายไม่ใช่เหตุผลสมควรที่จะหยุดการเล่น
ถ้าผู้เล่นหยุดเล่นโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยเฉพาะจากคณะกรรมการ ผู้เล่นจะต้องรายงานต่อคณะกรรมการโดยเร็วเท่าที่สามารถทำได้ ถ้าผู้เล่นรายงานแล้ว และคณะกรรมการพิจารณาเหตุผลของผู้เล่นจนเป็นที่พอใจ ผู้เล่นไม่ถูกปรับโทษ มิฉะนั้น ผู้เล่นจะถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
ข้อยกเว้นในการเล่นแบบแมทช์เพลย์ ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายตกลงหยุดการเล่น ไม่ปรับโทษตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน นอกจากการกระทำดังกล่าวทำให้การแข่งขันล่าช้า
หมายเหตุ การออกจากสนามไม่ถือว่าเป็นการหยุดเล่น
ข. การปฏิบัติเมื่อคณะกรรมการให้หยุดการเล่นชั่วคราว
เมื่อคณะกรรมการให้หยุดการเล่นชั่วคราวแล้ว ถ้าผู้เล่นในแมทช์ หรือผู้เล่นในกลุ่มอยู่ระหว่างการต่อเนื่องของสองหลุม ผู้เล่นทุกคนจะต้องไม่เข้าไปเล่นต่อ จนกว่าคณะกรรมการจะสั่งให้เข้าไปเล่นต่อได้ ถ้าผู้เล่นอยู่ระหว่างการเล่นในหลุมหนึ่งหลุมใด ก็อาจเล่นต่อได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเล่นต่อไปโดยไม่ชักช้า ถ้าผู้เล่นเลือกที่จะเล่นต่อ ทันทีที่เล่นจบหลุมนั้นๆแล้ว ผู้เล่นจะต้องไม่เล่นต่อ จนกว่าคณะกรรมการสั่งให้กลับเข้าไปเล่นต่อ
ผู้เล่นจะต้องกลับเข้าไปเล่นต่อ เมื่อคณะกรรมการได้สั่งให้มีการกลับเข้าไปเล่นต่อ
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 6-8ข
ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
หมายเหตุ คณะกรรมการอาจกำหนดเงื่อนไขที่ใช้ในการแข่งขัน (กฎข้อ 33-1) ว่า ในสถานการณ์ที่อาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรง จะต้องหยุดเล่นทันทีตามที่คณะกรรมการสั่งให้หยุดการเล่นชั่วคราว ถ้าผู้เล่นไม่หยุดเล่นทันที ผู้เล่นจะต้องถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน นอกจากมีเหตุผลสมควรในการละเว้นโทษนี้ ตามที่กำหนดไว้ในกฎข้อ 33-7
ค. การหยิบลูกขึ้นเมื่อหยุดการเล่น
เมื่อผู้เล่นหยุดเล่นในหลุมใดหลุมหนึ่งตามกฎข้อ 6-8 ผู้เล่นอาจหยิบลูกของตนขึ้นโดยไม่มีการปรับโทษในกรณีที่คณะกรรมการได้ให้หยุดเล่นชั่วคราวเท่านั้น หรือมีเหตุอันควรที่จะหยิบลูก ก่อนหยิบลูก ผู้เล่นต้องมาร์คตำแหน่งลูก ถ้าผู้เล่นหยุดเล่น และหยิบลูกของตนโดยไม่มีการอนุญาตเฉพาะกรณีจากคณะกรรมการ เมื่อรายงานต่อคณะกรรมการ (กฎข้อ 6-8ก) ผู้เล่นจะต้องรายงานการหยิบลูกด้วย
ถ้าผู้เล่นหยิบลูกขึ้นโดยไม่มีเหตุอันควร ไม่มาร์คตำแหน่งลูกก่อนหยิบลูก หรือไม่รายงานเรื่องการหยิบลูกผู้เล่นจะต้องถูกปรับโทษหนึ่งแต้ม
ง. การปฏิบัติเมื่อกลับเข้าไปเล่นต่อ
การกลับเขาไปเล่นต่อ จะต้องเล่นตรงจุดที่หยุดเล่น แม้ว่าการกลับเข้าไปเล่นต่อจะกระทำในวันต่อไป และไม่ว่าทั้งก่อนกลับเข้าไปเล่นต่อ หรือเมื่อกลับเข้าไปเล่นต่อ ผู้เล่นจะต้องปฏิบัติดังนี้
(1) ถ้าผู้เล่นได้หยิบลูกขึ้นตามเงื่อนไขที่ผู้เล่นได้รับสิทธิ์ภายใต้กฎข้อ 6-8 ผู้เล่นจะต้องวางลูกใดลูกหนึ่งตรงจุดที่หยิบลูกเดิมขึ้นมา หรือไม่ก็ต้องนำลูกเดิมกลับไปวางไว้ที่เดิม
(2) ถ้าผู้เล่นได้รับสิทธิ์ในการหยิบลูกของตนขึ้นตามกฎข้อ 6-8ค และไม่ได้ใช้สิทธิ์นั้น ผู้เล่นอาจหยิบ และทำความสะอาดลูก และนำลูกกลับไปวางไว้ที่เดิม หรือใช้อีกลูกหนึ่งมาวางแทนตรงจุดที่ได้หยิบลูกเดิมขึ้นมา ผู้เล่นต้องมาร์คตำแหน่งลูกก่อนหยิบลูกขึ้น หรือ
(3) ถ้าลูก หรือที่มาร์คลูกของผู้เล่นเคลื่อนที่ (โดยลม หรือน้ำ) ในที่ขณะการเล่นได้หยุดลง จะต้องนำลูกหรือที่มาร์คลูกกลับไปวางที่จุดที่ลูก หรือที่มาร์คลูกถูกทำให้เคลื่อนที่ไป
(ไม่สามารถหาจุดวางได้ ดูกฎข้อ 20-3ค)
*การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 6-8ง
การเล่นแบบแมทช์เพลย์ – ปรับเป็นแพ้ในหลุมนั้น
การเล่นแบบสโตรคเพลย์ – ปรับสองแต้ม
*ถ้าผู้เล่นถูกปรับโทษทั่วไปสำหรับการละเมิดกฎข้อ 6-8ง จะต้องไม่นำกฎข้อ 6-8ค มาปรับเพิ่มอีก
กฎข้อ 7 การฝึกซ้อม
นิยามศัพท์
สนาม หมายถึง บริเวณพื้นที่ภายในทั้งหมดที่อนุญาตให้เล่น (ดูกฎข้อ 33-2)
7-1. ก่อน หรือระหว่างรอบต่างๆ
ก. การเล่นแบบแมทช์เพลย์
ในวันที่ทำการแข่งขันแบบแมทช์เพลย์ ก่อนรอบการแข่งขัน ผู้เล่นอาจฝึกซ้อมในสนามที่ใช้ทำการแข่งขันได้
ข. การเล่นแบบสโตรคเพลย์
ในวันที่ทำการแข่งขันแบบสโตรคเพลย์ หรือในการเพลย์ออฟ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไม่ฝึกซ้อมในสนามที่ใช้แข่งขัน หรือทดสอบสภาพผิวกรีนใดๆในสนามก่อนรอบการแข่งขัน หรือก่อนการเพลย์ออฟ เมื่อมีการแข่งขันแบบสโตรคเพลย์มากกว่าสอง หรือสามรอบในหลายวันติดต่อกัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไม่ฝึกซ้อมหรือทดสอบสภาพผิวกรีนใดๆในสนามที่ใช้ทำการแข่งขัน หรือรอบต่างๆที่ยังเหลือสำหรับทำการแข่งขันต่อไป
ข้อยกเว้น: อนุญาตให้ซ้อมพัต หรือซ้อมชิพใกล้กับแท่นตั้งทีของหลุมแรกก่อนเริ่มรอบการแข่งขัน หรือก่อนเพลย์ออฟได้
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 7-1ข.
ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
หมายเหตุ คณะกรรมการอาจกำหนดในเงื่อนไขที่ใช้ในการแข่งขัน (กฎข้อ 33-1) ห้ามทำการฝึกซ้อมในสนามที่ใช้ทำการแข่งขัน ในวันใดวันหนึ่งสำหรับการแข่งขันแบบแมทช์เพลย์ หรือในการแข่งขันแบบสโตรคเพลย์ อาจอนุญาตให้ฝึกซ้อมในสนามที่ใช้ทำการแข่งขัน หรือในส่วนใดของสนาม (กฎข้อ 33-2ค)ในวันใดวันหนึ่ง หรือในระหว่างรอบหลายรอบก็ได้
7-2. ระหว่างรอบการแข่งขัน
ผู้เล่นจะต้องไม่ซ้อมตีลูกขณะเล่นอยู่ในแต่ละหลุม หรือระหว่างการเล่นต่อกันของสองหลุม เว้นแต่ว่า ระหว่างการเล่นต่อกันของหลุมนั้น ผู้เล่นอาจจะซ้อมพัต หรือซ้อมชิพบน หรือใกล้กับกรีนของหลุมที่เล่นจบไป หรือบนกรีนซ้อม หรือบนแท่นตั้งที่ของหลุมที่จะเล่นต่อไปในรอบนั้น ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องไม่ฝึกซ้อมตีลูกออกจากเขตอุปสรรค และไม่ทำให้ความเกิดล่าช้าในการเล่น (กฎข้อ 6-7)
การตีลูกเพื่อเล่นต่อให้จบหลุม ถึงแม้ว่าจะรู้ผลตัดสินแล้ว ไม่ถือเป็นการซ้อมตีลูก
ข้อยกเว้น เมื่อคณะกรรมการได้สั่งให้หยุดการเล่นชั่วคราว ก่อนจะกลับเข้าไปเล่นต่อ ผู้เล่นอาจฝึกซ้อม (ก) ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎข้อนี้ (ข) ในที่อื่นที่ไม่ใช่สนามที่ใช้ทำการแข่งขัน และ (ค) ตามที่คณะกรรมการอนุญาตให้กระทำได้
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎข้อ 7-2การเล่นแบบแมทช์เพลย์ – ปรับเป็นแพ้ในหลุมนั้น
การเล่นแบบสโตรคเพลย์ - ปรับสองแต้ม
ในกรณีที่มีการละเมิดกฎข้อบังคับระหว่างช่วงต่อเนื่องของหลุม ให้ปรับโทษที่หลุมต่อไป
หมายเหตุ 1 การซ้อมสวิงไม่ใช่เป็นการซ้อมตีลูก และอาจจะทำในที่ใดๆก็ได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องไม่ละเมิดกฎข้อบังคับ
หมายเหตุ 2 คณะกรรมการอาจห้ามการซ้อมบนกรีน หรืออาจห้ามซ้อมใกล้กับกรีนของหลุมที่เล่นจบไปแล้วก็ได้

กฎข้อ คำปรึกษา และการชี้เส้นทางเล่น
นิยามศัพท์
คำปรึกษา หมายถึง คำตักเตือน หรือคำแนะนำซึ่งสามารถส่งผลให้ผู้เล่นนำไปกำหนดการเล่น เช่น การเลือกใช้ไม้กอล์ฟ หรือวิธีการตี
การบอกล่าวเรื่องกฎข้อบังคับ หรือข้อมูลซึ่งเป็นที่เปิดเผยทั่วไป เช่น ตำแหน่งอุปสรรค หรือตำแหน่งคันธงบนกรีน ไม่ถือว่าเป็นคำปรึกษา
เส้นทางเล่น หมายถึง ทิศทางที่ผู้เล่นต้องการตีลูกของตนไป บวกกับระยะด้านข้างพอสมควรทั้งสองข้างของทิศทางนั้น เส้นทางเล่นขยายต่อเนื่องขึ้นในแนวตั้งฉากจากพื้น แต่เส้นทางเล่นไม่ต่อเนื่องเลยหลุม
8-1. คำปรึกษา
ในระหว่างรอบที่กำหนด ผู้ล่นจะต้องไม่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ใดในการแข่งขัน ยกเว้นพาร์ทเน่อร์ของตน ผู้เล่นอาจจะขอคำปรึกษาจากพาร์ทเน่อร์ หรือแค็ดดี้ของตน และแคดดี้ของพาร์ทเน่อร์ได้เท่านั้น
8-2. การชี้เส้นทางเล่น
ก. ในที่อื่นนอกจากบนกรีน
ยกเว้นบนกรีน ผู้เล่นอาจให้ผู้หนึ่งผู้ใดชี้เส้นทางเล่นได้ แต่จะต้องไม่มีผู้ใดยืนอยู่ใกล้กับผู้เล่น หรืออยู่ใกล้เส้นทางเล่น หรืออยู่ใกล้เส้นทางที่ต่อเนื่องเลยหลุมออกไปในขณะผู้เล่นกำลังทำการตี ถ้ามีเครื่องหมายใดวางไว้โดยผู้เล่นระหว่างการเล่นในหลุมใดหลุมหนึ่ง หรือผู้เล่นรับรู้ว่าเป็นสิ่งบ่งชี้เส้นทางเล่นจะต้องนำออกไปก่อนตีลูก
ข้อยกเว้น การเฝ้าคันธง หรือการยกคันธงไว้ ดูกฎข้อ 17-1
ข. บนกรีน
เมื่อลูกของผู้เล่นอยู่บนกรีน ผู้เล่น หรือแค็ดดี้ของตน หรือพาร์ทเน่อร์ หรือแคดดี้ของพาร์ทเน่อร์ อาจชี้เส้นทางพัตให้แก่กันได้ แต่ไม่ใช่ระหว่างการพัต(การตี) และการกระทำดังกล่าวจะต้องไม่ไปสัมผัสกรีนและจะต้องไม่วางเครื่องหมายในที่หนึ่งที่ใดเพื่อเป็นการชี้เส้นทางพัต
การปรับโทษสำหรับการละเมิดกฎ
การเล่นแบบแมทช์เพลย์ – ปรับเป็นแพ้ในหลุมนั้น
การเล่นแบบสโตรคเพลย์ - ปรับสองแต้ม
หมายเหตุ คณะกรรมการอาจกำหนดเงื่อนไขในการแข่งขันประเภททีม (กฎข้อ 33-1) โดยอนุญาตให้แต่ละทีมแต่งตั้งบุคคลผู้หนึ่งซึ่งอาจจะให้คำปรึกษา (รวมถึงการชี้เส้นทางพัต) แก่สมาชิกในทีมนั้นๆได้คณะกรรมการอาจกำหนดเงื่อนไขต่างๆเกี่ยวกับการแต่งตั้ง และขอบเขตที่อนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลผู้นั้น และต้องแสดงตัวต่อคณะกรรมการก่อนให้คำปรึกษา

กฎข้อ การแจ้งจำนวนแต้มที่ทำได้
9-1. ทั่วไป
จำนวนการตีที่ผู้เล่นทำได้ จะต้องรวมแต้มปรับโทษใดๆที่เกิดขึ้นด้วย
9-2. การเล่นแบบแมทช์เพลย์
ผู้เล่นซึ่งได้ถูกปรับโทษ จะต้องแจ้งให้ฝ่ายตรงข้ามทราบโดยเร็วเท่าที่สามารถทำได้ เว้นแต่ฝ่ายตรงข้ามได้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้เล่นได้ปฏิบัติภายใต้กฎข้อบังคับเมื่อมีการปรับโทษเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าผู้เล่นละเลยที่จะแจ้งฝ่ายตรงข้าม ถึงแม้ไม่รู้ตัวว่าต้องถูกปรับโทษ จะต้องถือว่าเป็นการแจ้งแต้มผิด
ระหว่างการเล่นในหลุมใดหลุมหนึ่ง หรือหลังจากเล่นจบหลุมใดหลุมหนึ่งไปแล้ว ฝ่ายตรงข้ามมีสิทธิ์สอบถามจากผู้เล่น เพื่อให้แน่ใจกับ จำนวนแต้มของหลุมที่เล่นไปแล้ว
ระหว่างการเล่นในหลุมใดหลุมหนึ่ง ถ้าผู้เล่นแจ้ง หรือถือว่าผู้เล่นแจ้งจำนวนแต้มที่ทำได้ผิดพลาด หากมีการแก้ไขความผิดพลาดนั้นให้ถูกต้องก่อนฝ่ายตรงข้ามตีครั้งต่อไป ผู้เล่นจะไม่ถูกปรับโทษ ถ้าผู้เล่นไม่แก้ไขการแจ้งข้อผิดพลาดนั้นให้ถูกต้อง ผู้เล่นจะต้องถูกปรับแพ้ในหลุมนั้น
หลังจากเล่นจบหลุมหนึ่งหลุมใดแล้ว ถ้าผู้เล่นแจ้ง หรือถือว่าผู้เล่นได้แจ้งจำนวนแต้มที่ทำได้ในหลุมที่เพิ่งเล่นจบไปแล้วนั้นผิดพลาดไป และมีผลกระทบต่อความเข้าใจของฝ่ายตรงข้ามต่อผลการเล่นของหลุมนั้นถ้าผู้เล่นแก้ไขความผิดพลาดให้ถูกต้อง ก่อนผู้เล่นคนหนึ่งคนใดเล่นจากแท่นตั้งทีของหลุมต่อไป หรือในกรณีหลุมสุดท้ายของการเล่นแบบแมทช์เพลย์ ก่อนที่ผู้เล่นทั้งหมดลงจากกรีน ผู้เล่นจะไม่ถูกปรับโทษถ้าผู้เล่นไม่แก้ไขการบอกผิดพลาดนั้น ผู้เล่นจะต้องถูกปรับเป็นแพ้ในหลุมนั้น
9-3. การเล่นแบบสโตรคเพลย์
ผู้เข้าแข่งขันซึ่งได้ถูกปรับโทษ ควรแจ้งมาร์คเกอร์ของตนให้ทราบโดยเร็วเท่าที่สามารถทำได้

กฎข้อ 10 ลำดับการเล่น
นิยามศัพท์
ผู้เล่นซึ่งมีเกียรติได้เล่นจากแท่นตั้งทีเป็นคนแรก เรียกว่าได้ ออนเน่อร์
10-1. การเล่นแบบแมทช์เพลย์
ก. บนแท่นตั้งที
ฝ่ายที่จะต้องได้ออนเน่อร์บนแท่นตั้งทีของหลุมแรก จะถูกกำหนดจากลำดับของการแบ่งกลุ่ม ถ้าไม่มีการแบ่งกลุ่มไว้ล่วงหน้า ควรตัดสินการได้ออนเน่อร์ด้วยการจับฉลาก
ฝ่ายซึ่งชนะในหลุมใด จะต้องได้ออนเน่อร์บนแท่นตั้งทีของหลุมต่อไป ถ้าเสมอกันในหลุมใด ฝ่ายที่ได้ออนเน่อร์บนแท่นตั้งทีของหลุมก่อนหน้านั้น ยังคงต้องได้ออนเน่อร์สืบต่อไป
ข. นอกแท่นตั้งที
เมื่อลูกทั้งหมดอยู่ในการเล่น ลูกที่อยู่ไกลหลุมกว่าจะต้องได้เล่นก่อน ถ้าลูกอยู่ห่างจากหลุมระยะเท่ากันควรตัดสินว่าลูกใดได้เล่นก่อนด้วยการจับฉลาก
ข้อยกเว้น กฎข้อ 30-3 ค. (ประเภทเบสท์บอล และโฟร์บอลแบบแมทช์เพลย์)
ค. การเล่นผิดลำดับ
ถ้าผู้เล่นตีลูกเมื่อฝ่ายตรงข้ามควรจะได้เล่นก่อน ฝ่ายตรงข้ามอาจขอให้ยกเลิกการตีดังกล่าวได้ทันที และให้เล่นตามลำดับที่ถูกต้อง จากจุดที่ใกล้ที่สุดจากจุดเดิมที่เล่นลูกไปครั้งสุดท้าย (ดูกฎข้อ 20-5) โดยไม่มีการปรับโทษ
10-2. การเล่นแบบสโตรคเพลย์
ก. บนแท่นตั้งที
ผู้เข้าแข่งขันซึ่งจะต้องได้ออนเน่อร์บนแท่นตั้งทีของหลุมแรก จะถูกกำหนดจากลำดับของการแบ่งกลุ่ม หากไม่มีการแบ่งกลุ่มไว้ ก็ให้ตัดสินด้วยการจับฉลาก
ผู้เข้าแข่งขันซึ่งทำแต้มน้อยที่สุดในหลุมใดหลุมหนึ่ง จะต้องได้ออนเน่อร์บนแท่นตั้งทีของหลุมต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำแต้มน้อยที่สุดอันดับสองจะต้องเล่นเป็นคนต่อไปตามลำดับ ถ้าผู้เข้าแข่งขันสองคน หรือมากกว่านั้นทำแต้มเท่ากันในหลุมใดหลุมหนึ่ง จะต้องเล่นจากแท่นตั้งทีของหลุมต่อไปตามลำดับของการเล่นบนแท่นตั้งทีของหลุมก่อนหน้านั้น
ข. นอกแท่นตั้งที
เมื่อลูกทั้งหมดอยู่ในการเล่น ลูกที่อยู่ไกลจากหลุมมากที่สุดจะต้องได้เล่นก่อน ถ้าลูกสองลูก หรือมากกว่านั้นอยู่ไกลจากหลุมระยะทางเท่ากัน ให้ตัดสินว่าลูกใดจะได้เล่นก่อนด้วยการจับฉลาก
ข้อยกเว้น กฎข้อ 22 (ลูกกีดขวาง หรือลูกช่วยเหลือการเล่น) และกฎข้อ 31-5 (การเล่นประเภทโฟร์บอลแบบสโตรคเพลย์)
ค. เล่นผิดลำดับ
ถ้าผู้เข้าแข่งขันเล่นผิดลำดับ จะต้องเล่นลูกนั้นต่อไปตามสภาพที่ลูกอยู่โดยไม่มีการปรับโทษ อย่างไรก็ตาม ถ้าคณะกรรมการเห็นว่า ผู้เข้าแข่งขันสมยอมที่จะเล่นตามลำดับอื่นใดนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 2ก ข้อ 2 และข้อ ของกฎข้อนี้ แล้วส่งผลให้ผู้หนึ่งผู้ใดเกิดความได้เปรียบ ผู้เข้าแข่งขันที่เกี่ยวข้องทุกคนจะต้องถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
(การเล่นลูกขณะที่อีกลูกหนึ่งกำลังเคลื่อนที่บนกรีน - ดูกฎข้อ 16-1ฉ)
(การเล่นผิดลำดับในการเล่นประเภททรีซั่มส์ และโฟร์ซั่มส์แบบสโตรคเพลย์ – ดูกฎข้อ 29-3)
10-3. การเล่นลูกสำรอง หรือลูกที่สองจากแท่นตั้งที
ถ้าผู้เล่นจะเล่นลูกสำรอง หรือเล่นลูกที่สองจากแท่นตั้งที ผู้เล่นจะต้องเล่นหลังจากฝ่ายตรงข้าม หรือผู้ร่วมแข่งขันได้ตีลูกแรกไปแล้ว ถ้าผู้เล่นได้เล่นลูกสำรอง หรือเล่นลูกที่สองผิดลำดับ จะต้องนำกฎย่อยข้อ 1ค และข้อ 2 ของกฎข้อนี้มาใช้บังคับ
10-4. ลูกเคลื่อนที่ระหว่างการวัดระยะ
ถ้าลูกเคลื่อนที่ระหว่างการวัดระยะเพื่อกำหนดว่าลูกใดอยู่ไกลจากหลุมมากกว่ากัน ให้นำลูกมาวางไว้ที่เดิมโดยไม่มีการปรับโทษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น